จากบทความที่แล้วที่บอกว่าทำอย่างไรให้เสียงเราตื่น ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเทคนิคว่า การที่เสียงของเราจะตื่นต้องทำอะไรกันบ้าง สำหรับการวอร์มเสียง
1. Physical & Mental Relaxation
คือการเตรียมร่างกายและจิตใจของเราให้พร้อม ในการที่จะวอร์มเสียง และทำกิจกรรมการร้องเพลงในวันนั้นๆ ซึ่งการวอร์มเสียงไม่ได้ต่างอะไรกับเราออกกำลังกาย หรือยืดเส้นยืดสาย ในกีฬาต่างๆ
2. Singing Organ Exercise
ซึ่งเกี่ยวกับการออกเสียงโดยตรง โดยใช้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียง
3. Vocalise (Vocal Exercise)
ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการวอร์มเสียง ก็คือแบบฝึกหัดในการออกเสียง โดยเริ่มมีโน้ตเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งเป็นแบบฝึกหัดย่อยๆ ที่ครูผู้สอนทั่วไปใช้ในการวอร์มเสียงได้ดังนี้
Ex.1 Open Throat (Hmm/Hng) การเปิดช่องคอ โดยใช้การ ฮึมม และ ฮังง
Ex.2 Vowels (A-อา/E-เอ/I-อี/O-โอ/U –อู) คือเสียงสระทั้งหลาย โดยอิงจากสระภาษาอิตาเลียนหรือละติน
Ex.3 Range Extension (การขยายช่วงเสียง) โดยใช้ โย โฮ
Ex.4 Articulation (สัทศาสตร์/การออกเสียง) คือ อวัยวะที่ใช้ในการสร้างเสียง นั่นคือ เสียงพยัญชนะ
ริมฝีปาก – b/p ร้องว่า พัม หรือ บัม
ริมฝีปากล่างหรือฟัน – f/v ร้องว่า ฟัม หรือ ฟา
ลิ้นและฟันบน – th ร้องว่า ธา ธอ
ลิ้นและเหงือก – l/s/sh ร้องว่า ลา ซา ชา
ขากรรไกร – g/k ร้องว่า กา โก
ช่องจมูก – ng ร้องว่า งา
Ex.5 Diaphragm (กะบังลม) เป็นแหล่งควบคุมที่เราใช้ในการซัพพอร์ท ใช้สระเสียงสั้น อะ เอะ อิ โอะ อุ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการยกตัวอย่างวิธีการวอร์มเสียง ซึ่งเคล็ดลับที่จะช่วยให้เสียงตื่น คือ การหัวเราะ จะช่วยให้เสียงของเราตื่นได้ไวมากขึ้น